วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สายกีต้าร์ไฟฟ้า



สายกีต้าร์ ไฟฟ้า ขอเล่าจากประสาบการณ์ที่เคยเจอมานะคับ

เกริ่น นิดนึง ขนาดสายกีต้าร์แบบชุด 6 เส้น --- มักจะเรียกตามขนาดของ"สายที่ 1" เช่น พูดว่า..สายเบอร์ 10 ก็จะหมายถึง สายที่ 1 ซึ่งมีขนาด 0.010 นิ้ว ส่วนสายอื่นๆ ก็ใหญ่ขึ้นไปตามสัดส่วนของแต่ละยี่ห้อ หรือสายเบอร์ 11...ก็จะหมายถึง สายที่ 1 ซึ่งมีขนาด 0.011 นิ้ว ตัวอย่างสายเบอร์ 10 ของ Daddario


สายแต่ละเบอร์แบบชุดนั้น จะมีแรงตึงรวมจากทั้ง 6 เส้น ต่างกันพอสมควร สามารถรับรู้ได้เลยนะครับ เช่น สายเบอร์ 10 กับ 11 โดยสายเบอร์ 11 จะตึงกว่า เวลาเล่นจะรู้สึกว่ากดยากขึ้น




เบอร์ 9 - ไม่เหมาะเลยกับอะคูสติกกีต้าร์...ไม่แนะนำครับ เพราะมันจะเกิดเสียงตีเฟรต คือเสียงแบบบี้ๆ แต่วๆ เล่นไม่สนุกครับ ดีดแรงไม่ได้...ถึงแม้อาการตีเฟรตจะแก้ไขโดยการปรับคอให้โก่งมากขึ้นหรือเสริมนัทและเสริมบริดจ์ช่วย แต่ก็จะเจอปัญหาสายลอยสูงอยู่ดี



เบอร์ 10 - เหมาะกับการเล่นโซโล่ การเกากีต้าร์ และฟิงเกอร์สไตร์ ด้วยแรงตึงไม่มาก จะทำให้เล่นได้ง่าย แต่เสียงจะออกบางๆ ใสๆหน่อยนะ




เบอร์ 11 - เหมาะกับทุกแนวทั้งการเล่นโซโล่ การเกากีต้าร์ ฟิงเกอร์สไตล์ และตีคอร์ด ... แนะนำครับ เพราะความตึงกำลังดี เสียงชัดคม มีน้ำหนักกำลังดี 






ขอพูดถึงแค่นี้ก่อนแล้วกันคับ เนื่องจากสายกีต้าร์ไฟฟ้ามีหากหลายชุดมาก ซึ่งพูดกันในวันเดียวไม่จบแน่ แต่ที่เสนอไปเป็นที่นิยมกัน 



Audio Interface



วันนี้เราจะมาพูดถึง Audio Interface

Audio Interface คือตัวแปลงสัญญาณ Analog ให้เป็น Digital โดยคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้จะไม่มีการ์ดเสียง built in อยู่ใน  mainboard เหมือนในปัจจุบัน โดยต้องหาซื้อการ์ดเสียงมาเพื่อไว้ฟังเพลง และเสียงดนตรีจากการดูหนัง ฟังเพลง เล่มเกมส์ ซึ่งลักษณะมันก็จะเป็นการ์ด PCI  ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่คนติดในการใช้เรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า Soundcard หรือการ์ดเสียง แม้ปัจจุบันมันจะไม่ใช่การ์ดแล้วก็ตาม และมีช่องต่อสัญญาณเสียงหลายช่องทั้ง input, output และบางการ์ดอาจจะเป็นแบบ Surround 5.1 หรือ 7.1 ก็จะยิ่งมีช่องเพิ่มเติมมากขึ้น  โดย Connector ที่ใช้เชื่อมต่อก็จะเป็น mini trs ขนาด 3.5 mmn และมักจะมีช่องต่อ Midi ผ่านช่องต่อ D-Sub แต่ในหลายปีหลัง และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะ หรือ Notebook ก็จะมี Soundcard แบบ Bulit in มาเลยทันทีไม่ต้องหาซื้อเพิ่มแต่อย่างใด โดยตัวที่เป็นลักษณะ built in นั้นก็จะออกแบบมาเพื่อไว้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ทั่วๆไป ถึงแม้จะมีช่อง Input ไว้สามารถบันทึกเสียงได้ในทางปฏิบัติ แต่หากต้องการคุณภาพเสียงที่ดี หรือใส่ใจในคุณภาพเสียง ก็จะไม่เหมาะในการบันทึกเสียงแน่นอนเนื่องจาก Soundcard แบบ Built in เหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่องานบันทึกเสียงในระดับคุณภาพที่เหมาะสมด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างทั้ง ภาค A/D หรือ Audio to Digital Converter, Latency (การหน่วงของเสียง) ที่สูง, คุณภาพของภาคขยายสัญญาณไมค์ (Pre Amp), จำนวนช่องที่ต่อในการเชื่อมสัญญาณ (Channel), อัตราส่วนระดับสัญญาณต่อเสียงรบกวน (Signal to Noise Ratio), เสียงรบกวนจากภาคจ่ายไฟ





ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางในการบันทึกเสียงทั้งใน Studio ใหญ่ๆ หรือใน Home Studio คือคอมพิวเตอร์ และเราจำเป็นต้องใช้ Audio Interface เพื่อที่จะบันทึกเสียงลงสู่คอมพิวเตอร์หรือเพื่อส่งสัญญาณเสียงไปสู่ลำโพงมอนิเตอร์ โดยหน้าที่ของ Audio Interface คือไว้เชื่อมต่อสัญญาณเสียงอย่างน้อยหนึ่ง channel หรือมากกว่าเข้าสู่ หรือออกจากคอมพิวเตอร์ ในระดับ high resolution หรือความละเอียด และคุณภาพสูงเพื่อบันทึกเสียง และเล่นกลับ (playback)











Les Paul



คราวนี้เรามาอ่านประวัติของคนที่สร้างกีต้าร์ไฟฟ้าตัวแรกของโลกกันบ้าง
เค้ามีชื่อว่า Les Paul หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ LP นั่นเอง

เค้าเป็นคนแรกที่นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับกีต้าร์ และเป็นคนที่ออกแบบกีต้าร์ทรง Lespul ที่มีความนิสัยสูงจนถึงทุกวันนี้




รูปนี้คือ Les Paul กับกีต้าร์ไฟฟ้าตัวแรกของโลกที่เค้าเป็นคนสร้างขึ้นเอง
Les Paul เป็นนักประพันธ์และนักดนตรี เกิดเมื่อ 9 มิถุนายน 2458
ที่เมืองวูกีซา ในรัฐวิสคอนซิน 
ด้วยความเก่งกาจในด้านการเล่นดนตรีและการประดิษฐ์ ทำให้เค้ามีแบบอย่างการเล่นดนตรีเป็นของตัวเอง ซึ่งรวมถึงการใช้เทคนิกต่างๆนาๆในการแต่ง เล่นดนตรีในสิ่งที่เค้ารัก

Les Paul ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดอักเสบที่โณงพยาบาลไวท์เพลน นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 

Les Paul ได้สร้างแรงบันดาลใจในการเล่นดนตรีและนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดไว้มากมายในช่วงชีวิตของเค้า เค้าคือหนึ่งบุคคลสำคัญทางดนตรี รายชื่อต่อไปนี้คือผลงานของเค้า

Feedback (1944)—compilation
Les Paul Trio (1946)—compilation
Hawaiian Paradise (1949)
The Hit Makers! (1950)
The New Sound (1950)
Les Paul's New Sound, Volume 2 (1951)
Bye Bye Blues! (1952)
Gallopin' Guitars (1952)—compilation
Les and Mary (1955)
Time to Dream (1957)
Lover's Luau (1959)
The Hits of Les and Mary (1960)—compilation

Hughes & Kettner Tubeman2



วันนี้ผมจะมารีวิวเอฟเฟคกีต้าร์ที่ผมใช้อยู่
ชื่อของมันคือ Hughes & Kettner Tubeman2
เจ้าตัวนี้มันดียังไงเรามาดูกัน


ต้องขออธิบายก่อนว่าเจ้า Hughes & Kettner Tubeman2 ตัวนี้
มันทำหน้าที่เหมือนปรีแอมป์ พูดภาษาบ้านๆเปรียบเหมือนกับเอฟเฟค
ตัวนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหัวแอมป์ของกีต้าร์ ซื้อเวลาจะใช้งานให้มีประสิทธิภาพ
มากที่สุดต้องเสียบเข้าของReturnของตู้แอมป์ ไม่อย่างนั้นภาคปรีของ
เอฟเฟคกับตู้แอมป์จะทำงานชนกันทำให้สัญญาณดร็อป และจุดเด่นของเอฟเฟค
ตัวนี้คือมันมี 3 แชนแนลในตัวเดียวนั่นเอง



คลิปด้านบนเป็นการรีวิวแชนแนลที่1คือเสียงคลีน ซื้อจะมีการปรับได้แค่ Volume กับ EQ เท่านั้น แต่สำหรับผมเนื้อเสียงที่ออกมาถือว่าดีเลยทีเดียวเชียว




คลิปต่อมาคือแชนแนลที่2เป็นเสียง Crunch หรือ Overdrive คือเสียงแตกอ่อนๆเหมาะสำหรับเล่นเพลงแนว Blues County 





ต่อมาคือแชนแนลที่3 คือเสียง Distrotion เป็นแบบ Hi-Gain เสียงนี้เหมาะสำหรับเพลง Rock Metal เป็นอย่างมาก 

หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย





Schecter Damien Elite

ครั้งแรกกับการเขียนบล็อก
ผมขอพูดเรื่องกีต้าร์สำหรับชาว Rock หรือ Metal
 ต้องบอกก่อนว่าเป็นความคิดส่วนตัว ถูกผิดอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


กีต้าร์ที่จะนำมารีวิวคือ Schecter Damien Elite
ก่อนอื่นเรามาดูสเปคของกีต้าร์ตัวนี้เลย





Model Name Damien Elite-6
Body Material Mahogany,Top Material,Flamed Maple
Neck  Maple 3-pc
Fretboard Rosewood
Inlays Pearloid Gothic Dots
Scale 25.5” (648mm)
Frets 24 X-Jumbo
Bridge Pickup EMG 81
Neck Pickup EMG 85
Controls Volume/Tone/3-Way Switch Pickup Switching
Battery Compartment 9-volt Clip-in Battery Compartment
Bridge Tune-O-Matic w/ String Thru Body
Tuners Grover


ส่วนตัวผมใช้กีต้าร์ตัวนี้อยู่ มันเหมาะสำหรับชาว Rock กับ Metal มาก
ด้วยส่วนของ Body ที่ทำจากไม้ Mahogany ให้เสียงที่หนักแน่น
Pickup เป็นแบบ Active Pickup ของ EMG
ซึ่งให้เสียงแตกที่แสบดากมาก แต่ข้อเสียก็คือเสียงCleanที่จะแข็งกระด้าง

นี่เป็นการรีวิวโดยอ.Pop Worivit
เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจนะคับ